การสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานด้านแผนกลยุทธ์
ตัวชี้วัดที่สนับสุนนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา การดำเนินงานด้านแผนกลยุทธ์ รวมถึงแผนการดำเนินงานอื่นๆขององค์กร ดังนี้
- จำนวนโครงการทักษะในอนาคตที่จัด
- นักศึกษาที่สอบผ่านทักษะFuture skills ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- นักศึกษาที่เข้ารับการทดสอบทั้งหมด
ตารางสรุปผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงาน
แนวทางในการแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะ
1. ระบบการเก็บข้อมูลตาม KPI โครงการทักษะในอนาคต Future skills ยังไม่เป็นระบบ ทำให้ไม่มีข้อมูลที่จะรายงานต่องานแผนอย่างครบถ้วน นับโครงการพัฒนาศักยภาพ Excel เป็นโครงการหลัก แต่ผลการดำเนินงาน ยังไม่บรรลุ KPI 1. ตามแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) กำหนดแผนปฏิบัติการ 1.1.7) แผนพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในอนาคต Future skills ดังนั้น โครงการพัฒนาทักษะใหม่เพื่อการทำงานในอนาคตของนักศึกษา เช่น 1) IT Suport Professional Certificate หรือ
2) Data Analytics Professional Certificate หรือ
3) Digital Marketing & E-commerce Certificate หรือ4) Coding Certificate
2. ในปีงบประมาณ 2568 งานวิชาการ จะดำเนินการปรับปรุงการเก็บข้อมูลตาม KPI ดังกล่าว ดังนี้
2.1 ต้นปีงบประมาณ งานวิชาการ จะจัดทำแบบฟอร์มเพื่อสำรวจโครงการะดับปริญญาตรีให้มีสมรรถนะและทักษะที่จะเป็นในอนาคต Future skills ของงานวิชาการ หลักสูตร และงานพัฒนานักศึกษา เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น ประกอบด้วย
– ชื่อโครงการ
– ผู้รับผิดชอบโครงการ
– ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
– กลุ่มเป้าหมาย และจำนวนเป้าหมาย
– ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
2.2 เสนอข้อมูลจากการสำรวจตามข้อ 2.1 เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการฯ เพื่อรับทราบ
2.3 ทุกวันจันทร์ที่ 2 ของเดือน งานวิชาการ จะส่งลิงค์แบบสำรวจให้หัวหน้าโครงการผู้รับผิดชอบโครงการนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในอนาคต Future skills ตอบข้อมูลผลการดำเนิน
https://forms.gle/A7iTPWLmiUQHUs5PA
2.4 รายงานการดำเนินงาน (ข้อมูลอัพเดท) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการฯ ในการประชุมเป็นประจำทุกเดือน
2.5 นำข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจข้อ 2.3 รายงานต่องานแผนตามเวลาที่กำหนด2.งานวิชาการ ไม่ทราบว่าทุกหลักสูตรมีโครงการใดที่จัดอยู่โครงการทักษะในอนาคต Future skills
การใช้โปรแกรมช่วยในการเลือกตัวอย่างแบบ MUS
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้พัฒนาโปรแกรมเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี (Audit Sampling) เพื่อให้ผู้สอบบัญชี และผู้ช่วยผู้สอบบัญชีนำไปใช้ในการทำงานสอบบัญชีเพื่อให้ลดเวลาในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ บุคลากรทางการศึกษายังสามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อสอนนักศึกษาให้สามารถใช้งานโปรแกรมดังกล่าวได้ และรองรับการทำงานด้านการสอบบัญชีในอนาคตได้ต่อไป
การเลือกตัวอย่างแบบ MUS (Monetary-unit Sapling)
วิธี MUS เป็นวิธีการที่ผู้สอบบัญชีส่วนใหญ่นำมาใช้ในการกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบเนื้อหา สาระตอนสิ้นปี เนื่องจากทำให้ผู้สอบบัญชีสามารถตรวจสอบให้ได้จำนวนเงินสูง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจหลายรายการ
การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยวิธี MUS มี 3 ขั้นตอน
- กำหนดประชากรที่ต้องการนำมาสุ่มทดสอบ เช่น หากต้องการสุ่มเลือกตัวอย่างเพื่อส่งหนังสือยืนยันยอดลูกหนี้การค้า ประชากรที่ต้องการนำมาสุ่มทดสอบ คือ รายการลูกหนี้การค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด อย่างไรก็ตาม ประชากร ดังกล่าวต้องเป็นประชากรภายหลังจากที่ได้นำรายการที่มีมูลค่าสูง ๆ รายการที่สำคัญ และรายการที่ผิดปกติออกแล้ว (Key-items) เนื่องจาก รายการที่เป็น key-items นั้นจะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรที่เหลือได้ และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้สูงด้วยลักษณะของรายการ จึงทำให้รายการ key-items นั้นเป็นรายการที่ผู้สอบบัญชีจะเลือกเฉพาะเจาะจงเพื่อตรวจสอบเนื้อหาสาระอยู่แล้ว จึงไม่ควรรวมอยู่ในประชากรที่จะนำมาสุ่มทดสอบเพิ่มเติมอีก
- คำนวณช่วงการเลือกตัวอย่าง (Interval)
โดยที่ confidence factor จะเป็นค่าทางสถิติซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ RMM ที่ประเมินได้สำหรับแต่ละ account / assertion ที่เกี่ยวข้อง เช่น จากตัวอย่างข้างต้น หากผู้สอบบัญชีต้องการสุ่มเลือกตัวอย่างเพื่อส่งหนังสือยืนยันยอด ลูกหนี้การค้า ซึ่งเป็นวิธีการที่ตอบสนองเรื่องความมีอยู่จริง ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณา confidence factor ที่ เหมาะสมกับ RMM ที่ประเมินได้ของ account – A/R และ assertion – Existence เป็นต้น
ตาราง confidence factor
* ระดับความมั่นใจที่ต้องการได้เพิ่มเติมจากการทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระ
ที่มา: Exhibit 17.3-1 and 17.3-2 Guide to Using International Standards on Auditing in the Audits of Small-and Medium Sized Entities Volume 2 – Practical Guidance
จากตารางข้างต้น จะพบว่าหาก RMM ที่ประเมินได้อยู่ในระดับ “สูง” นั่นคือ ความเสี่ยงที่ accountและ assertion นั้นจะผิดมีโอกาสมาก ดังนั้น ระดับความมั่นใจที่ต้องการเพิ่มเติมก็ต้องสูงขึ้น เช่น 95% เป็นต้น ดังนั้น confidence factor ก็จะต้องสูงตามไปด้วย เช่น 3.0 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หาก RMM ที่ประเมินได้อยู่ในระดับ “ต่ำ” นั่นคือ ความเสี่ยงที่ accountและ assertion นั้นจะผิดมีโอกาสน้อย ดังนั้น ระดับความมั่นใจที่ต้องการเพิ่มเติมก็ลดลงได้ เช่น 65%-75% เป็นต้น ดังนั้น confidence factor ก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น 1.1 – 1.4 เป็นต้น
- การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample size)
การเลือกรายการมาทดสอบโดยวิธี MUS มี 3 ขั้นตอนดังนี้
- List รายการประชากรที่ต้องการสุ่มทดสอบโดยห้าม sort โดยเด็ดขาด และคำนวณจำนวนเงินสะสมของประชากรดังกล่าว
- กำหนดจุดเริ่มต้นของรายการแรกที่จะเลือก (start) โดยจุด start จะเป็นเลขใดก็ได้แต่ต้องไม่เกินช่วงการเลือก ตัวอย่าง (interval) ที่คำนวณได้ข้างต้น เช่น ถ้า interval คำนวณได้เท่ากับ 100 ดังนั้น จุด start จะต้องเป็นเลขที่ อยู่ระหว่าง 1 – 100 เป็นต้น และการเลือกจุด start ควรใช้การ random ตัวเลขขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการ bias
- รายการที่จะถูกสุ่มเลือกมาทดสอบ คือ รายการที่มีจำนวนเงินสะสมตกอยู่ในช่วงการเลือกตัวอย่างสะสม
ตัวอย่าง: ขนาดตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากร = 6 รายการ ช่วงการเลือกตัวอย่าง 3,000 และจุดเริ่มต้น 1,200 (ไม่เกิน interval)
การประเมินผลการเลือกตัวอย่างโดยวิธี MUS มี 3 ขั้นตอน
- สืบสวนลักษณะและสาเหตุของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่พบ และประเมินผลกระทบที่อาจเป็นไปได้ต่อวัตถุประสงค์ของวิธีการตรวจสอบและเรื่องอื่น ๆ ที่ตรวจสอบ หากพิจารณาแล้วพบว่าการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่พบนั้นมีลักษณะเป็น “ข้อผิดพลาดที่มีในประชากร” (ไม่เป็น “รายการเดี่ยว – anomalous items” หรือ “รูปแบบ/ระบบ – pattern) ให้ผู้สอบบัญชีพิจารณาดังนี้
- หากรายการดังกล่าวเป็น “รายการหลัก” (key-items) ให้รวบรวมผลแตกต่างของรายการหลักทั้งหมดที่พบ
- หากรายการดังกล่าวเป็น “ตัวแทนประชากร” (Representative items) ให้ทำการประมาณการการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่พบ (Projected misstatements)
- คำนวณอัตราร้อยละของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่พบแต่ละรายการ
- หาผลรวมอัตราร้อยละของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงทั้งหมด
- คำนวณหาอัตราร้อยละของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงเฉลี่ย โดยนำผลรวมอัตราร้อยละของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงทั้งหมดหารด้วยขนาดตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากร
- คำนวณหาประมาณการการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง โดยนำอัตราร้อยละของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงเฉลี่ยคูณด้วยมูลค่าของประชากรที่นำมาสุ่มทดสอบ
ตัวอย่าง: ขนาดตัวอย่างที่ตัวแทนประชากร = 6 รายการ มูลค่าประชากรที่นำมาสุ่มทดสอบ = 18,000
- นำ “การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่ประมาณการได้” รวมกับ “ผลแตกต่างของรายการหลัก” เพื่อนำไปพิจารณาว่ามีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญหรือไม่ อย่างไร
- หากตัวอย่างที่เลือกมาทดสอบไม่ได้ให้หลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผลในการสรุปเกี่ยวกับประชากร
- ขอร้องให้ฝ่ายบริหารตรวจสอบ และขอให้แก้ไขปรับปรุงรายการตามความจำเป็น หรือ
- ปรับเปลี่ยนลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตการตรวจสอบ
การใช้โปรแกรมในการเลือกตัวอย่างนี้ มีวิธีการคำนวณเหมือนคำอธิบายข้างต้น แต่จะช่วยลดเวลาในการเลือกตัวอย่างลงได้อย่างมาก เนื่องจากโปรแกรมดังกล่าวสามารถสร้างหนังสือยืนยันยอดลูกหนี้การค้าให้กับผู้สอบบัญชีจากข้อมูลที่คำนวณได้อีกด้วย